วิธีป้องกันกลโกงบัตรเครดิต บัตรเดบิต

วิธีป้องกันกลโกงบัตร ทั้งบัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด และบัตรเอทีเอ็ม

1. รหัสผ่านของบัตรควร

  • เป็นรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดา แต่เจ้าของบัตรต้องจำได้
  • ไม่จดรหัสผ่านไว้คู่กับบัตร หรือในที่ที่ผู้อื่นสามารถเข้าถึงได้
  • ไม่ใช้รหัสผ่านที่สถาบันการเงินส่งมาให้ และควรทำลายเอกสารแจ้งรหัสผ่าน
  • เปลี่ยนรหัสอย่างน้อยทุก 3 เดือนหรือบ่อยกว่า
  • เก็บรักษารหัสผ่านเป็นความลับ และไม่ควรให้ข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงินแก่ผู้อื่น

2. ก่อนใช้งานตู้เอทีเอ็มควร

  • หลีกเลี่ยงการใช้ตู้เอทีเอ็มในสถานที่เปลี่ยว เพราะมีโอกาสที่มิจฉาชีพจะติดตั้งเครื่องคัดลอกข้อมูลไว้ได้โดยง่าย
  • สังเกตช่องเสียบบัตร แป้นกดตัวเลข หรือบริเวณตู้เอทีเอ็ม ว่ามีสิ่งผิดปกติ เช่น แป้นครอบตัวเลข กล่องหรืออุปกรณ์ที่ติดไว้ในระยะมองเห็นการกดรหัสหรือไม่20131109151037

3. หากใช้บัตรกับร้านค้าควร

  • หลีกเลี่ยงร้านค้าที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริต เช่น สถานบริการน้ำมัน สถานบันเทิง
  • ควรอยู่ในบริเวณที่มองเห็นการทำรายการ และให้บัตรอยู่ในสายตาตลอดเวลา เพื่อป้องกันพนักงานนำบัตรไปรูดกับเครื่องสกิมเมอร์

4. เมื่อใช้งานบัตรควร

  • ใช้มือปิดบังไม่ให้ผู้อื่นมองเห็นแป้นกด ในขณะที่กำลังกดรหัสผ่าน
  • เก็บใบบันทึกรายการทุกครั้ง เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบยอดการใช้จ่าย
  • ตรวจสอบรายการใช้จ่ายหรือยอดเงินอย่างสม่ำเสมอ หากมีรายการผิดปกติ ให้แจ้งธนาคารหรือบริษัทผู้ออกบัตรเพื่อตรวจสอบและดำเนินการแก้ไข

5. ไม่ควรให้เอกสารข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลทางการเงินแก่บุคคลอื่น

6. หากบัตรสูญหายหรือถูกขโมย ควรแจ้งธนาคารหรือบริษัทผู้ออกบัตรเพื่ออายัดบัตรทันที

7. ติดตามข่าวสารกลโกง เพื่อรู้เท่าทันกลโกงใหม่ ๆ

สิ่งที่ควรทำเมื่อตกเป็นเหยื่อ

  1. 1. เมื่อพบรายการถอนเงินหรือโอนเงินผิดปกติ ควรแจ้งอายัดบัตรทันที พร้อมตรวจสอบยอดเงินใช้จ่ายหรือยอดเงินคงเหลือกับเจ้าหน้าที่ธนาคารหรือบริษัทผู้ออกบัตร
  2. 2. แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  3. 3. ทำใจ…เพราะเงินที่ถูกมิจฉาชีพขโมยไป โอกาสจะได้คืนนั้นน้อยมาก โดยเฉพาะในกรณีที่มิจฉาชีพได้ข้อมูลบัตรเพราะความประมาทของผู้ถือบัตร ทั้งนี้ กรณีที่เป็นการ skimming ที่ตู้เอทีเอ็มของธนาคารจริง ธนาคารจะชดใช้เงินให้แก่ลูกค้าที่ได้รับความเสียหาย

อ้างอิงจากเว็บไซต์ 1213.or.th