วิธีป้องกันกลโกงบัตรเครดิต บัตรเดบิต

วิธีป้องกันกลโกงบัตร ทั้งบัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด และบัตรเอทีเอ็ม

1. รหัสผ่านของบัตรควร

  • เป็นรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดา แต่เจ้าของบัตรต้องจำได้
  • ไม่จดรหัสผ่านไว้คู่กับบัตร หรือในที่ที่ผู้อื่นสามารถเข้าถึงได้
  • ไม่ใช้รหัสผ่านที่สถาบันการเงินส่งมาให้ และควรทำลายเอกสารแจ้งรหัสผ่าน
  • เปลี่ยนรหัสอย่างน้อยทุก 3 เดือนหรือบ่อยกว่า
  • เก็บรักษารหัสผ่านเป็นความลับ และไม่ควรให้ข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงินแก่ผู้อื่น

2. ก่อนใช้งานตู้เอทีเอ็มควร

  • หลีกเลี่ยงการใช้ตู้เอทีเอ็มในสถานที่เปลี่ยว เพราะมีโอกาสที่มิจฉาชีพจะติดตั้งเครื่องคัดลอกข้อมูลไว้ได้โดยง่าย
  • สังเกตช่องเสียบบัตร แป้นกดตัวเลข หรือบริเวณตู้เอทีเอ็ม ว่ามีสิ่งผิดปกติ เช่น แป้นครอบตัวเลข กล่องหรืออุปกรณ์ที่ติดไว้ในระยะมองเห็นการกดรหัสหรือไม่20131109151037

3.

รู้เท่าทัน ลักษณะกลโกงบัตรเครดิต

รู้เท่าทัน ลักษณะกลโกงบัตรเครดิต

           บัตรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินต่าง ๆ เป็นบัตรที่อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงินของเจ้าของบัตร เช่น ถอนเงิน โอนเงิน ชำระเงิน ซึ่งบัตรเหล่านี้จะบันทึกข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงินของเจ้าของบัตรไว้ หากมิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้จากการขโมยบัตรหรือขโมยข้อมูลในบัตร มิจฉาชีพก็จะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปปลอมเป็นเจ้าของบัตรทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ ไม่ว่าจะถอนเงินออกจากบัญชี หรือใช้วงเงินสินเชื่อของเหยื่อที่เป็นเจ้าของบัตร

ลักษณะกลโกง

1.คัดลอกข้อมูลจากแถบแม่เหล็กของบัตรโดยเครื่องสกิมเมอร์ (Skimmer) ที่ติดตั้งไว้ที่ตู้เอทีเอ็ม

มิจฉาชีพมักติดตั้งเครื่องสกิมเมอร์ที่ช่องเสียบบัตรของตู้เอทีเอ็ม เพื่อคัดลอกข้อมูลจากบัตร พร้อมติดตั้งแป้นครอบกดตัวเลขเพื่อบันทึกรหัสผ่านที่เหยื่อกด หรืออาจติดตั้งกล้องจิ๋วเพื่อแอบดูรหัสผ่าน

 

2. คัดลอกข้อมูลจากแถบแม่เหล็กของบัตรโดยเครื่องสกิมเมอร์ขนาดพกพาหรือเครื่องแฮนด์เฮลด์สกิมเมอร์